วันภาษาไทย

สรุปผลโครงการวันภาษาไทยแห่งชาติ ในวันที่ 29 เดือน กรกฎาคม 2554

ตัวอย่างโครงการ

ชื่อโครงการ                                                          วันภาษาไทย                                                       

สนองกลยุทธ์
สพฐ.                                           ข้อที่  3

สนองมาตรฐานที่  สมศ.                                   ข้อที่  5.1-5 และ 6.1-3

สนองตัวชี้วัดตามคำรับรองฯ                         

ลักษณะโครงการ                                                 โครงการใหม่                       

ลักษณะกิจกรรมตาม  OUCP                          /   กิจกรรมสนับสนุน         กิจกรรมรอง         กิจกรรมหลัก

                                                                                รหัสกิจกรรม 31

กลุ่มบริหารที่รับผิดชอบ                                    งานการบริหารวิชาการ

ผู้รับผิดชอบ                                                         นายสนั่น   แท่นนอก และคณะ

ระยะเวลาดำเนินงาน                                         27-29 กรกฎาคม 54

 

 

 

1. หลักการและเหตุผล

                พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม
( ฉบับที่ 2 ) พุทธศักราช 2545 มาตรา 22 ว่าด้วยการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพและใน
มาตรา 23
ว่าด้วยการจัดการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้คุณธรรมกระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่อง
( 4 )ความรู้และทักษะคณิตศาสตร์และด้านภาษาเน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องดังนั้นภาษาไทยจึงมีความสำคัญทั้งในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ
เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
การใช้ภาษาจึงเป็นทักษะที่ผู้ใช้ต้องฝึกฝนให้เกิดความชำนาญไม่ว่าจะเป็นการอ่าน
การคิดวิเคราะห์การเขียนการพูดการฟังและการดู
รวมทั้งต้องใช้ให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ทางภาษาเพื่อสื่อสารให้เกิดประสิทธิภาพและใช้อย่างคล่องแคล่ว
มีวิจารณญาณมีคุณธรรมและมีนิสัยรักการอ่าน
ถ้านักเรียนมีความรู้มีความสามารถในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยได้อย่างเหมาะสมกับระดับชั้นแล้วจะทำให้การเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นดำเนินได้ด้วยดีและมีประสิทธิภาพ

สำหรับความเป็นมาของวันภาษาไทยแห่งชาตินั้นสืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่
29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานและทรงอภิปรายเรื่องปัญหาการใช้คำไทย


คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า “ เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล
จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ” ด้วยตระหนักในความสำคัญเรื่องภาษา
รัฐบาลจึงประกาศให้

วันที่
29 กรกฎาคมของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติตั้งแต่ พ.ศ. 2542  เป็นต้นมา

ฝ่ายการบริหารวิชาการโรงเรียนบ้านดอนตะหนิน  เห็นสมควรจัดโครงการวันภาษาไทยขึ้นเพื่อปลูกฝังส่งเสริมให้นักเรียนในท้องถิ่นตระหนักและเห็นคุณค่าของภาษาไทย
อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยภูมิปัญญาและท้องถิ่นของไทยสืบต่อไป

 

2.
วัตถุประสงค์

                2.1
ผลผลิต (
Output)
2.1.1 สถานศึกษาจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ การเขียน
การฟังการดูและการพูด

2.1.2
สถานศึกษาจัดกิจกรรมส่งเสริมอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยและภูมิปัญญาไทย

                2.2 ผลลัพธ์ (Outcomes)

2.2.1
นักเรียนมีทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์การเขียน
การฟังการดูและการพูดรวมทั้งการใช้ภาษา

2.2.2 นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านและจดบันทึกข้อมูล

2.2.3
นักเรียนเห็นคุณค่าและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยและภูมิปัญญาไทย

2.2.4
นักเรียนมีความสามารถในการแข่งขันความเป็นเลิศทางวิชาการ

 

3. เป้าหมาย

3.1
นักเรียนมีทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์การเขียน การฟังการดูและการพูดรวมทั้งการใช้ภาษาร้อยละ
85

3.2
นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านและจดบันทึกข้อมูล ร้อยละ 85

3.3
นักเรียนมีความสามารถในการแข่งขันความเป็นเลิศทางวิชาการ ร้อยละ 85

3.4
นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ร้อยละ 85

3.5
นักเรียนเห็นคุณค่าและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยและภูมิปัญญาไทย ร้อยละ 85

4. กิจกรรมและการดำเนินงาน

ที่

กิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน

ผู้รับผิดชอบ

1. ประชุมชี้แจงเสนออนุมัติโครงการ

19 กรกฎาคม 2554

คณะครูและบุคลากรในโรงเรียน
2. แต่งตั้งคณะดำเนินงาน

21 กรกฎาคม 2554

ผู้บริหารโรงเรียน
3. ประชาสัมพันธ์โครงการ

21-28 กรกฎาคม 2554

คณะครูและบุคลากรในโรงเรียน
4. กิจกรรมประกวดผลงานทางวิชาการ

29 กรกฎาคม 2554

คณะกรรมการดำเนินงาน

5.

จัดนิทรรศการผลงานทางวิชาการ

29 กรกฎาคม 2554

คณะครูและบุคลากรในโรงเรียน

 

5. ทรัพยากรที่ต้องการ

1) งบประมาณ                      (      งบอุดหนุน
งบปัจจัยพื้นฐาน          งบประมาณภายนอก )

– ค่าวัสดุ                            จำนวน      8,000
บาท

– ค่าครุภัณฑ์                     จำนวน           –        บาท

– ค่าใช้สอย                       จำนวน
–      บาท
รวมงบประมาณทั้งสิ้น   จำนวน
8,000      บาท

2 ) บุคลากร

– ผู้บริหาร

– คณะกรรมการดำเนินงาน

– นักเรียน

6. การติดตามผล

ตัวบ่งชี้สภาพความสำเร็จ

วิธีการตรวจสอบ

เครื่องที่ใช้ในการวัดผล

ผลผลิต ( Output )

1.
สถานศึกษาจัดกิจกรรมนิทรรศการผลงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

2.
สถานศึกษาจัดกิจกรรมส่งเสริมอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยและภูมิปัญญาไทย

3.
สถานศึกษาจัดกิจกรรมแข่งขันความเป็นเลิศทางวิชาการ

 

 

1.ประเมิน

 

2.สำรวจ

 

3.ทดสอบ

 

 

1.แบบประเมิน

 

2.แบบสำรวจ

 

3.แบบทดสอบ

ผลลัพธ์ ( Outcome )

1.
นักเรียนศึกษาผลงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยจากการจัดนิทรรศการ

2.
นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านและจดบันทึกข้อมูล

3.
นักเรียนเห็นคุณค่าและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยและภูมิปัญญาไทย

4.
นักเรียนมีความสามารถในการแข่งขันความเป็นเลิศทางวิชาการ

 

1.ประเมิน

 

2.บันทึก

3.สำรวจ

 

4.ประเมิน

 

1.แบบประเมิน

 

2.แบบบันทึก

3.แบบสำรวจ

 

4.แบบประเมิน

 
(ลงชื่อ)
ผู้เสนอโครงการ

(
นายสนั่น   แท่นนอก )
ครู    โรงเรียนบ้านดอนตะหนิน

 
(ลงชื่อ)                                        ผู้เห็นชอบโครงการ
( นางสมจิตร      แคชัยภูมิ )
หัวหน้างานบริหารวิชาการ

 
(ลงชื่อ)
ผู้อนุมัติโครงการ
( นายสงกรานต์       ทองหล่อ )
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดอนตะหนิน

About dontaninschool

sanan Tannok Dontanin School T.Kokrabeng A.Banleam, Nakhonratchasima 30350 Tel. 044430363 or 081-2850785

Posted on 02/08/2011, in ตัวอย่างโครงการ. Bookmark the permalink. ใส่ความเห็น.

ใส่ความเห็น